+Niyu ~Dekzaa+

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นักเรียนนายร้อย

ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ที่จะเลือกเป็นนักเรียนนายร้อย


              เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของนักเรียนนายร้อย มิได้อยู่ที่การแต่งเครื่องแบบโก้หรู มิได้อยู่ที่การศึกษาเพื่อได้เป็นเจ้าคนนายคน
มิได้อยู่ที่การ ได้มีโอกาสเล่าเรียนด้วยทุนของทางราชการหรือความภูมิใจที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคนเป็นหมื่น ๆ คนเท่านั้น เกียรติยศ
 เกียรติศักดิ์ โดยแท้จริงของนักเรียนนายร้อยคือ









- เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์





- เป็นผู้ตั้งใจอุทิศตนอย่างแน่วแน่ ที่จะเสียสละโอกาสและความสุขสบาย เพื่อรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร





- เป็นผู้มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อ ความยากลำบากในการรับการฝึก การหัด
และการฝึกฝนทั้งปวง เพื่อความเข้มแข็ง ทั้งร่างกาย และจิตใจ  รวมทั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการเป็นผู้นำทหาร ที่มีความภาคภูมิใจ
และได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไป









- เป็นผู้ที่พร้อมในการในการพัฒนาตนเองไปสู่ความมีวินัย จริยธรรม คุณธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และเป็นตัวอย่าง
ในการประพฤติตนเป็นคนดีและเสียสละ เพื่อชาติตลอดทั้งชีวิต







- เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้รอบ ตามทันการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี





- เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นนายทหารหลักของกองทัพบก ซึ่งเป็นแบบฉบับของนายทหารผู้มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามที่กองทัพ
และประเทศชาติพึงปรารถนา







            


















สาระสำคัญของระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่เกี่ยวกับนักเรียนนายร้อย


























ข้อ ๗ การรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย





๗.๑ บุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียนเตรียมทหาร ได้คะแนนตามที่ทางราชการกำหนด





ข้อ ๘ สิทธิและหน้าที่ของนักเรียนนายร้อย





๘.๑ นักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. ๒๕๔๓ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม





๘.๒ บุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ร้องขอรับราชการ ทหารกองประจำการ ตามกฎกระทรวงออกตามคาม
ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร







๘.๓ นักเรียนนายร้อยจะต้องปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ  คำสั่ง  แบบธรรมเนียมของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับจะต้องเคารพ
และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง แบบธรรมเนียมของทหาร ทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย







๘.๔ นักเรียนนายร้อยจะต้องรับการฝึกและอบรม ตามระเบียบและหลักสูตร ที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด





๘.๕ นักเรียนนายร้อยมีสิทธิได้รับ เงินเดือน การเลี้ยงดู การรับสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ การรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ
ตามที่ทางราชการกำหนดตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนนายร้อย

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความพยาม

http://youtu.be/i3DsXDhNzMw
   นี้คือความพยามที่ผมเอามาให้ดูในวันนี้นะครับ คนเราถ้ามีใจสู้แม้ฝันที่ไม่สามารเป็นไปได้ก็สามารเป็นไปได้ครับ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การปรพกาศผล


หลังจากการประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 57 อย่างเป็นทางการครบทุกเหล่าแล้ว ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2556 นี้ พี่ได้สัมผัสถึงความรู้สึกของทั้งผู้ที่สมหวัง และผู้ที่ผิดหวัง คละกันไป มีทั้งรอยยิ้ม การชื่นชมยินดี และน้ำตาของความเสียใจ

ตัวพี่เองขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทุกคนที่สอบได้เป็น นตท.รุ่น 57 ตัวจริง และตัวสำรองที่มีโอกาสได้เป็นตัวจริงทุกคน จริงอยู่ การสอบแข่งขันย่อมมีคนแพ้ มีคนชนะ ไม่มีใครจะชนะตลอด และแน่นอน ไม่มีใครที่จะแพ้ไปตลอด ตราบเท่าที่ชีวิตเรายังมีแรง มีกำลัง มีความพยายามทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราในทุกๆ วัน

หลายคนตัดพ้อกับชีวิต ว่าทำไมเราทำไม่ได้ ทำไมเราไม่มีโอกาสนั้นสักที ... ต้องเข้าใจว่า มีคนสอบเตรียมทหารเหล่าละประมาณ 20,000 กว่าคน แต่รับจริงเหล่าละประมาณ 100 กว่าคนโดยเฉลี่ย คนผิดหวังต้องมีจำนวนมากกว่าคนที่สมหวังนับไม่ถ้วน และหนึ่งในหลายหมื่นคนนั้น ก็คือเรา ...

น้องๆ ที่ผิดหวังอาจบอกว่า ตอนนี้พี่ก็พูด ได้เพราะพี่สอบติดไปแล้ว จบเตรียมทหาร จบนายเรืออากาศได้เป็นนายทหารแล้ว ... ในความเป็นจริง พี่ก็เคยสอบไม่ติดนะครับ การสอบครั้งแรกของพี่ ปี พ.ศ.2536 ทุกคนต้องจบ ม.4 และเลือกสอบได้แค่เหล่าเดียว พี่สอบนายเรืออากาศและไม่ติดแม้กระทั่งรอบวิชาการ ความไม่สมหวัง ความไม่สำเร็จในครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันให้พี่ทำหลายๆ สิ่งที่พี่ไม่เคยทำ เช่น ขยันให้มากขึ้น แบ่งเวลาให้ตนเองมากขึ้น รู้จักตัวเองให้มากขึ้น ไม่ประมาทในชีวิต และไม่ประเมินตนเองสูงเกินกว่าความเป็นจริง พี่ทำทุกอย่างให้ได้ดีมากกว่าชีวิต 1 ปีที่ผ่านมา ตอนพี่สอบรอบแรกได้ พี่ก็ใส่แรงทั้งหมดไปกับการสอบพละรอบสอง และหาข้อมูลให้ดีที่สุดในการสอบสัมภาษณ์ ตอนนั้นนักเรียน 1 คนเลือกสอบได้เหล่าเดียว พี่สอบได้เหล่าเดียวก็เลือกสอบนายเรืออากาศ เพราะพี่อยากเป็นนักบิน

ตอนนั้นคิดอย่างเดียว คือสอบติดนายเรืออากาศแล้วได้จะได้เป็นนักบิน คิดอย่างนั้นจริงๆ ครับ และกว่าชีวิตแต่ละวันของการเป็น นตท.และ นนอ.จะผ่านไปได้ มันช่างเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมาก สูขน้อยกว่าทุกข์อยู่แล้ว จนถึงปีการศึกษาสุดท้ายของการเป็น นนอ. พี่เข้าสอบคัดเลือกศิษย์การบินตอนเป็น นนอ.ชั้นปีที่ 5 เชื่อพี่เถอะ นนอ.ทุกคน อยากเป็นนักบิน แต่ไม่มีเก้าอี้นักบินสำหรับ นนอ.ทุกคนหรอกครั้ง พอผลสอบนักบินกองทัพอากาศออกมาปรากฏว่า ... พี่สอบไม่ติด ... โลกมันดับ ใจมันลอยๆ ตัวเบาๆ พูดไม่ออก ไม่มีแรงจะเดิน อาการทุกอย่างเกิดเหมือนกับที่น้องๆ ที่สอบไม่ติดตัวจริง เกิดขึ้นในตอนนี้ ไม่มีผิดกันเลย ...

พี่ถามตัวเองว่า เราสู้อุตส่าห์ฝ่าฟันความลำบากมาตั้งขนาดนี้เพื่ออะไร? เฮ๊ย แล้วพรุ่งนี้จะเป็นยังไง พี่กับเพื่อนๆ ที่สอบนักบินไม่ได้ มองเพื่อนที่สอบได้แล้วมันเจ็บใจลึกๆ มันคือโอกาสที่ทุกคนเคยมีเท่ากันตั้งแต่เข้าเตรียมทหาร แต่เมื่อจบนายเรืออากาศทุกคนกลับมีโอกาสที่ไม่เท่ากัน *** ถ้าน้องคิดดีๆ พี่และเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เป็นนักบินนั้น Hurt กว่าน้องๆ ตอนนี้มาก เพราะน้องแค่สอบเตรียมทหารไม่ติด แต่พี่สอบติดเพราะพี่มีความฝันในอนาคต ฝันที่มันยากและยิ่งใหญ่ แต่พี่คว้าความฝันนั้นไว้ไม่ได้ *** แล้วที่ผ่านมา เรายอมเหนื่อยยาก ยอมลำบาก ยอมทำทุกอย่างเพื่อความฝันนั้นนี่นา แล้วที่ผ่านมา เราพยายามไปเพื่ออะไร ???

... ทุกคนไม่ได้เสียอะไร เราแค่ไม่ได้สิ่งที่เราอยากได้ที่สุด
เราแค่ไม่สมหวัง เราแค่ไม่ได้สิ่งที่เราอยากได้ที่สุด แต่อย่าลืมว่า เรายังไม่ตาย นะครับ ...

ไม่มีใครเอาเราไปฆ่า ไม่มีใครบอกว่าคุณต้องทำร้ายตัวเอง Life goes on. ชีวิตยังดำเนินต่อไป

เพื่อนพี่ หลายคนที่สอบเป็นศิษย์การบินได้ ก็บินไม่จบ hurt กว่าพี่อีก หลายคนตั้งความหวังไว้สูงมากว่าต้องได้บินอย่างนั้น อย่างนี้ สุดท้ายไปไม่ถึง ก็ hurt ไม่ต่างกัน พี่ๆ น้องๆ หลายคน ได้เป็นนักบินแล้ว ต้องมาเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ ยังความทุกข์ความเสียใจมาจนถึงทุกวันนี้

เพื่อนๆ พี่หลายคนที่น้องรู้จัก พี่หนิง - อาจารย์วิทย์เคมี, พี่ Boy - R-TOP Cadet, พี่เก๊ ชัยพฤกษ์ Cadet โคราช, และอีกมากมาย ทุกคนเคยอยากเป็นนักบินเหมือนกัน แต่เราไปไม่ถึงมัน พวกพี่ๆ ก็ Hurt ไม่ต่างจากน้องๆ หรอกครับ

แต่เพราะ Life goes on. ชีวิตต้องเดินต่อไป ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน หรือทำอะไร ต้องมีความลงตัว และพอใจกับสิ่งที่ชีวิตของเรากำลังเป็นอยู่ เพราะเราเป็นมนุษย์ธรรมดา มีสุข-ทุกข์ ไม่ต่างกัน เพียงแต่เราเลือกที่จะใช้ชีวิตได้ เลือกที่จะทำ/หรือไม่ทำอะไรต่างๆ ได้

พี่จึงขอให้น้องๆ ทุกคนคิดไว้เสมอว่า "I must define myself." ชีวิตเรา เราต้องเลือกเอง เรากำหนดเอง ดีชั่วเราทำเอง วันนี้เราล้ม เราเจ็บ โครตเจ็บ เจ็บให้พอครับ แล้วลุกขึ้นให้ไว ใครมีโอกาสสอบอีกครั้งในปีหน้า ทำโอกาสที่มีให้เต็มที่ ใครหมดโอกาสแล้ว ชีวิตยังมีอะไรให้ทำอีกมาก โอกาสดีๆ ต้องสร้างเอง ต้องคว้าเองน้อง มันถึงจะภูมิใจครับ

จำไว้ทุกคนไม่ได้เสียอะไร แค่ไม่ได้ในสิ่งที่เราอยากได้ที่สุด
สำหรับพี่นะ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราพยายามอย่างถึงที่สุดของชีวิตแล้ว "Nothing is impossible." ครับ // พี่แฮท

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สำหรับนายร้อยหญิงก็หาข้อมูลมาให้เหมือนกันนะครับ

หัวข้อคำถาม : รายละเอียดการสอบเป็นนายร้อยตำรวจหญิง
คำถาม : สวัสดีค่ะพี่ ตอนนี้หนูเรียนอยู่ ม.3 พอจบ ม.3 หนูว่าจะไปเรียนโรงเรียนเตรียมนายร้อย 3 ปี แล้วตอน ม.6 หนูจะไปสอบ แต่ถ้าเราเรียนอยู่โรงเรียนเดิมแล้วค่อยไปสอบสอบตอน ม.6 พี่ว่ายังไหนน่าจะดีกว่า เรียนเตรียม 3 ปี ต้องใช่ค่าใช่จ่ายสูง หนูคิดไม่ออกว่าจะเลือกเรียนทางไหนดี ระหว่างเรียนทางสายนั้น แล้วค่อยไป สอบ หรือเรียนสายคณิต – วิทย์ ที่โรงเรียนแล้วค่อยไปสอบ พี่ช่วยแนะนำให้ด้วยนะคะ พี่คะ บุคคลภายนอก (หญิง) เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ คืออะไร แล้วมีบุคลภายในด้วยเหรอคะ พี่ช่วยอธิบาย เกี่ยวกับ นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง ว่าทำไมเขาถึงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ รับวุฒิ ม.6 อายุไม่ตำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์) และ รับราชการตำรวจ ไม่น้อยกว่า 1 ปี อายุไม่เกิน 25 ปี แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร เรียนที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ( 4 ปี ) จบแล้ว ก็ได้เป็น ร้อยตำรวจตรีหญิง เหมือนกัน แล้วเกรดเฉลี่ยอย่างต่ำเท่าไรเหรอค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับคำแนะนำและคำตอบที่ดีขอบคุณค่ะ พี่คะถ้าพี่มีเวลาช่วยตอบกลับเร็วนะค่ะขอบคุณค่ะ พี่หนูอยากให้พี่ดูว่าข้อมูลพวกนี้ถูกไหม การสอบคัดเลือก การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้ 1.การสอบรอบแรก เป็นการสอบข้อเขียน วิชาที่สอบ ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียด ดังนี้ ◦วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 200 คะแนน ◦วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ◦วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน - ◦วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 200 คะแนน 2.การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ การทดสอบบุคลิกภาพ (เมื่อได้รับการอนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สอบพลศึกษา วัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ เป็นการสอบไม่มีคะแนน ถือเกณฑ์ ได้ หรือ ตก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ เป็นการตรวจสุขภาพและตรวจโรค ซึ่งต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการทั่วไปและวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียน นายร้อยตำรวจ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ตามวัน เวลาที่กำหนด ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิ ผลการตรวจร่างกาย ถือเป็นความเห็นของคณะกรรมการแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง ถือเป็นเด็ดขาด เฉพาะในวันตรวจร่างกายที่กำหนดไว้เท่านั้น และจะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจในวันอื่นหรือ ผู้สมัครขอตรวจซ้ำเอง ยกเว้นคณะแพทย์มีความเห็นให้ตรวจเพิ่มเติมเท่านั้น หรือได้ใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย 2 ประเภท คือ 1.วิ่ง ระยะทาง 1,000 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 7 นาที จากจุดเริ่มต้น จนถึงเส้นชัย ถ้าวิ่งไม่ถึง หรือออกนอกลู่วิ่งก่อนครบกำหนดระยะทาง หรือทำเวลาเกินกว่ากำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก 2.ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที จากจุดเริ่มต้นจนถึง ผู้สอบใช้มือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระ ซึ่งเป็นเส้นชัย ผู้ที่ว่ายไม่ถึง หรือทำเวลา เกินกว่าที่กำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก ผู้สมัครจะต้องสอบพลศึกษาตาม (1) และ (2) ทั้งสองอย่างให้ผ่าน จึงจะถือว่าสอบพลศึกษาได้ ผู้ที่สอบพลศึกษาตกจะไม่รับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงคะแนนข้อเขียนที่สอบได้ พี่คะแล้วที่หนูเข้าไปดูคำถามของเพื่อนว่าการสอบพละศึกษาไม่ใช้แค่สอบ วิ่งกับว่ายน้ำ แต่มี ดึงข้อ 16 ครั้ง ลุกนั่ง (30 วินาที) 25 ครั้ง นั่งงอตัว 20 ซม. วิ่งระยะสั้น (50 เมตร) 6.5 วินาที วิ่งระยะไกล (1,000 เมตร) 3.22 นาที *ห้ามเกิน 5.22 นาที ยืนกระโดดไกล 2.40 เมตร ว่ายน้ำ (50 เมตร) 40 วินาที *ห้ามเกิน 1.20 นาที วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ) 10 วินาที นำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน ต้องเกินครึ่ง แต่ถ้าตกว่ายน้ำหรือวิ่งระยะไกล ถือว่าตกหมด หนูต้องสอบพวกนี้หมดเลยเหรอค่ะ
สำหรับนายร้อยหญิงก็หาข้อมูลมาให้เหมือนกันนะครับ

ารรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง
ากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา ๓ ปี
ายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะ้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก
ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ เกี่ยวกับการสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
 คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ...
   แนะนำข้อมูลการสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (อย่างย่อ) ในส่วนของ :
   กองทัพบก / กองทัพเรือ / กองทัพอากาศ / สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  การที่เราจะเป็นนายร้อยเราต้องมีความสามารหลายอย่างและต้องอาศัยความมีวินัยต่อตนเองและผู้อื่นเพื่อที่จะเป็นนายร้อยที่ดี
    พลตำรวจโท วินัย ทองสอง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบัน
เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 32 (นรต.32) เริ่มรับราชการด้วยการเป็นนายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 จังหวัดยะลา จนกระทั่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ในปี พ.ศ. 2547 ด้วยยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในยุครัฐบาลที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยามีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์กให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศน์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย[2][3]
ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.วินัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แทนที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แทน[4][5]
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 30 วัน พร้อมกับมอบให้ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เข้ามารักษาราชการ และปฏิบัติหน้าที่แทน โดยให้มีผลทันที[6]
จากนั้นก็ได้มีการเลื่อนยศ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ให้เป็น พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ขณะที่ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2

ความมุ่งมั่นในการเป็นนายร้อย

การเตรียมสอบการเป็นนายร้อย
    การเตรียมสอบนายร้อย ตำรวจ แนะนำด้วยครับ
การเตรียมสอบนายร้อย ตำรวจ แนะนำด้วยครับ
อยากทราบการเตรียมตัว
สถานที่ tutor ดี ๆ
แนะนำด้วยครับ
     และ  ขอความกระจ่างหน่อยครับ สอบนายร้อยตำรวจนี่หมายถึงคุณจบ ป.ตรีมาแล้วสอบใช่ไหม หรือคุณ
จะสอบเข้าเพื่อไปเข้าเรียนเป็นนายร้อยตำรวจ หรือคุณรับราชการตำรวจมาก่อนแล้วสอบเลื่อนขั้นเป็น
นายร้อยน่ะ ในกรณีแรกคุณจะสอบสายไหนล่ะด้วย ถ้าสายปราบปราม-สืบสวนสอบสวน หรือสาย อก 
(อำนวยการ) ถ้าสายปราบปราม-สืบสวนสอบสวน คุณจะต้องเก่งวิชา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
ส่วนสายอื่นๆ ก็ต้องแล้วแต่ แต่ละสายน่ะ 
          แต่ถ้าจะไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจคุณจะต้องเริ่มจากโรงเรียนเตรียมทหารก่อนครับ ส่วนการ
การสอบคัดเลือก การสอบคัดเลือกนั้นจะกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้.-
    1.   การสอบรอบแรก เป็น การสอบข้อเขียน วิชาที่สอบได้แก่ วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 
ภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้.-
          1.1   วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ขอบเขตตามเนื้อหารายวิชา ท.401,ท.402, 
                  ท.503, ท.504, ท.605, ท.606
          1.2   วิชาวิทยาศาสตร์ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ขอบเขตตามเนื้อหารายวิชา ว.421,ว.021, 
                  ว.022, ว.023, ว.024, ว.025, ว.431, ว.031, ว.032, ว.033, ว.034, ว.035
          1.3   วิชาคณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ขอบเขตตามเนื้อหารายวิชา ค.011,ค.012, 
                  ค.013, ค.014, ค.015, ค.016
          1.4   วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ขอบเขตตามเนื้อหารายวิชา อ.017,อ.018, 
                  อ.019, อ.0110, อ.0111, อ.0112

    2.   การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ สอบพลศึกษา สอบสัมภาษณ์ วัดขนาดร่างกาย เป็นการสอบไม่มีคะแนน ถือเกณฑ์ ได้-ตก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้.-

          2.1   การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ เป็น การตรวจสุขภาพและตรวจโรค ซึ่งต้องห้าม ตามที่
กำหนดไว้ในระเบียบการและวิธีรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ตามวันเวลาที่กำหนด ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิ ผลการ
ตรวจร่างกายของคณะกรรมการแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ ถือเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจ
ร่างกายจากที่อื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดง ระวังการตรวจตาบอดสีด้วยนะครับ ส่วนมากแล้วผู้ชายเรา 80% จะตา
บอดสีแต่ไม่รู้ตัวน่ะ 
          2.2   การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย 2 ประเภท คือ
                  (1)   วิ่งระยะทาง 1,000 เมตร ใช้เวลา 4 นาที จากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ถ้าวิ่งไม่ถึงหรือออก
                          นอกลู่วิ่งก่อนครบกำหนดระยะทาง หรือทำเวลาเกินกว่ากำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก
                  (2)   ว่ายน้ำระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลา 1 นาที 20 วินาที จากจุดเริ่มต้นจนถึงผู้สอบใช้มือหรือ
                          ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระ ซึ่งเป็นเส้นชัย ผู้ที่ว่ายไม่ถึงหรือทำเวลาเกิน
                          กว่าที่กำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก  ผู้สมัครจะต้องสอบพลศึกษาตาม (1) และ (2) ทั้ง 
                          สองอย่างให้ผ่าน จึงจะถือว่าสอบพลศึกษาได้ ผู้ที่สอบพลศึกษาตกจะไม่รับเข้าเป็นนัก
                          เรียนนายร้อยตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงคะแนนข้อเขียนที่สอบได้

    2.3   การสอบสัมภาษณ์และวัดขนาดร่างกาย

            เป็น การพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ท่วงทีวาจา ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไว
และปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
            ผลการสอบถือเกณฑ์ “ได้ ” หรือ “ ตก ” เท่า นั้น ผู้ที่สอบตกหมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย
ตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียนที่ได้

            ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาด

ตามที่กำหนดไว้ จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันทีครับ ส่วนสถานที่ติวมีเยอะแยะไปครับ ส่วนมากบริเวณหน้า
โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานนั่นแหละครับ
เว็บการฝึกนายร้อย
http://youtu.be/Fo0MEKrLI-Q

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นายร้อย

การที่ เรา จะ เป็นนายร้อยได้้เราต้องมีความมีวินัยและไม่ย่อท้อต่อทุกสิ่งแม้จะไปไม่ไว้แล้วจริงเราก็จะต้องสู้เพื่อความสำเร็จเพราะเมื่อทำสิ่งนั้นสำเร็จเราก็จะภูมิใจ
นี่คือวีดีโอการฝึกที่ผมไปหามา  http://youtu.be/KoP7d7h9mKw