+Niyu ~Dekzaa+

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สำหรับนายร้อยหญิงก็หาข้อมูลมาให้เหมือนกันนะครับ

หัวข้อคำถาม : รายละเอียดการสอบเป็นนายร้อยตำรวจหญิง
คำถาม : สวัสดีค่ะพี่ ตอนนี้หนูเรียนอยู่ ม.3 พอจบ ม.3 หนูว่าจะไปเรียนโรงเรียนเตรียมนายร้อย 3 ปี แล้วตอน ม.6 หนูจะไปสอบ แต่ถ้าเราเรียนอยู่โรงเรียนเดิมแล้วค่อยไปสอบสอบตอน ม.6 พี่ว่ายังไหนน่าจะดีกว่า เรียนเตรียม 3 ปี ต้องใช่ค่าใช่จ่ายสูง หนูคิดไม่ออกว่าจะเลือกเรียนทางไหนดี ระหว่างเรียนทางสายนั้น แล้วค่อยไป สอบ หรือเรียนสายคณิต – วิทย์ ที่โรงเรียนแล้วค่อยไปสอบ พี่ช่วยแนะนำให้ด้วยนะคะ พี่คะ บุคคลภายนอก (หญิง) เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ คืออะไร แล้วมีบุคลภายในด้วยเหรอคะ พี่ช่วยอธิบาย เกี่ยวกับ นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง ว่าทำไมเขาถึงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ รับวุฒิ ม.6 อายุไม่ตำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์) และ รับราชการตำรวจ ไม่น้อยกว่า 1 ปี อายุไม่เกิน 25 ปี แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร เรียนที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ( 4 ปี ) จบแล้ว ก็ได้เป็น ร้อยตำรวจตรีหญิง เหมือนกัน แล้วเกรดเฉลี่ยอย่างต่ำเท่าไรเหรอค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับคำแนะนำและคำตอบที่ดีขอบคุณค่ะ พี่คะถ้าพี่มีเวลาช่วยตอบกลับเร็วนะค่ะขอบคุณค่ะ พี่หนูอยากให้พี่ดูว่าข้อมูลพวกนี้ถูกไหม การสอบคัดเลือก การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้ 1.การสอบรอบแรก เป็นการสอบข้อเขียน วิชาที่สอบ ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียด ดังนี้ ◦วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 200 คะแนน ◦วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ◦วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน - ◦วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 200 คะแนน 2.การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ การทดสอบบุคลิกภาพ (เมื่อได้รับการอนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สอบพลศึกษา วัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ เป็นการสอบไม่มีคะแนน ถือเกณฑ์ ได้ หรือ ตก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ เป็นการตรวจสุขภาพและตรวจโรค ซึ่งต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการทั่วไปและวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียน นายร้อยตำรวจ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ตามวัน เวลาที่กำหนด ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิ ผลการตรวจร่างกาย ถือเป็นความเห็นของคณะกรรมการแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง ถือเป็นเด็ดขาด เฉพาะในวันตรวจร่างกายที่กำหนดไว้เท่านั้น และจะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจในวันอื่นหรือ ผู้สมัครขอตรวจซ้ำเอง ยกเว้นคณะแพทย์มีความเห็นให้ตรวจเพิ่มเติมเท่านั้น หรือได้ใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย 2 ประเภท คือ 1.วิ่ง ระยะทาง 1,000 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 7 นาที จากจุดเริ่มต้น จนถึงเส้นชัย ถ้าวิ่งไม่ถึง หรือออกนอกลู่วิ่งก่อนครบกำหนดระยะทาง หรือทำเวลาเกินกว่ากำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก 2.ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที จากจุดเริ่มต้นจนถึง ผู้สอบใช้มือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระ ซึ่งเป็นเส้นชัย ผู้ที่ว่ายไม่ถึง หรือทำเวลา เกินกว่าที่กำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก ผู้สมัครจะต้องสอบพลศึกษาตาม (1) และ (2) ทั้งสองอย่างให้ผ่าน จึงจะถือว่าสอบพลศึกษาได้ ผู้ที่สอบพลศึกษาตกจะไม่รับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงคะแนนข้อเขียนที่สอบได้ พี่คะแล้วที่หนูเข้าไปดูคำถามของเพื่อนว่าการสอบพละศึกษาไม่ใช้แค่สอบ วิ่งกับว่ายน้ำ แต่มี ดึงข้อ 16 ครั้ง ลุกนั่ง (30 วินาที) 25 ครั้ง นั่งงอตัว 20 ซม. วิ่งระยะสั้น (50 เมตร) 6.5 วินาที วิ่งระยะไกล (1,000 เมตร) 3.22 นาที *ห้ามเกิน 5.22 นาที ยืนกระโดดไกล 2.40 เมตร ว่ายน้ำ (50 เมตร) 40 วินาที *ห้ามเกิน 1.20 นาที วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ) 10 วินาที นำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน ต้องเกินครึ่ง แต่ถ้าตกว่ายน้ำหรือวิ่งระยะไกล ถือว่าตกหมด หนูต้องสอบพวกนี้หมดเลยเหรอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น